วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

คัมภีร์การแพทย์ของตะวันออกและตะวันตก

คัมภีร์หวงตี้เน่ยจิง

      หวงตี้เน่ยจิงเป็นคำภีค์แพทย์ศาสตร์ที่แก่ที่สุดของจีน  เมื่อรวมกับคำภีร์หนานจิง  คัมภีร์ซางหนานจ๋าปิ้งลุ่น  และคำภีร์เสนหนงเปิ๋นเฉ่าจิง  จะเรียกว่า  4  สุดยอยคัมภีร์แพทย์ศาสตร์  คัมภีร์หวงตี้เน่ยจิงประกอบด้วย  2  ส่วน  คือ  ซู่เวิ่นและหลิงชู  เนื้อหาสำคัญพูดถึงอวัยวะภายใน เส้นที่เลือดลมหมุนเวียน  สาเหตุของ  การเกิดโรค  อาการป่วย  วิธีการวินิจฉัย  วิธีการรักษา  รวมถึงการฝังเข็มและอังความร้อน  คัมภีร์เล่มนี้สะท้อนถึงความคิดของคนจีนในสมัยโบราณที่ว่าฟ้าและมนุษย์รวมกันเป็นหนึ่ง  สร้างระบบทฤษฎีการแพทย์แผนจีนที่โดดเด่น  เป็นรากฐานเพื่อพัฒนาทฤษฎีการแพทย์แผนจีนและยาต่อไป


คัมภีร์หนานจิง

    คัมภีร์หนานจิงมีชื่อเดิมว่า  "หวงตี้ปาสืออีหนานจิง"  เนื้อหาเป้นการไขข้อสงสัยบางอย่างจากคัมภีร์หวงตี้เน่ยจิง  มีทั้งหมด  81  คำถาม  คีมร์เล่มนี้วิเคราะห์จุดที่น่าสงสัยและยากของคัมภีร์หวงตี้เน่ยจิง ด้วยการอธิบายถึงข้อสงสัยและปัญหาต่างๆ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงประสิทธิภาพของอวัยวะใน 
 วิธีวินิจฉัยโรคจากชีพจร  การฝังเข็มบริเวณทางเดินของเลือดลม ทั้งยังวิเคราะห์อาการป่วยที่พบบ่อย  เนื้อหากระชับละเอียด  มักจะถูกพูดถึงไปพร้อมๆ  กับคัมภีร์หวงตี้เน่ยจิงในวิชาการแพทย์แผนจีน  และได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในคัมภีร์แพทยศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในสมัยโบราณของจีน


คัมภีร์ซางหานจ๋าปิ้งลุ่น

    คัมภีร์ซางหานจ๋าปิ้งลุ่นเขียนขึ้นโดยนักการแพทย์นามว่า  จางจ้งจิ่ง  เมื่อต้นศตวรรษที่  3  ปลายสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก  จางจ้งจื่งเป็นผู้อ่านหนังสือจำนวนมาก  โดยได้รวบรวมข้อสงสัยที่พบเจอตลอดชีวิตมาเขียนเป็นคัมภีร์ดังกล่าว  คัมภีร์ซางจ๋าปิ้งลุ่นวิเคราะห์ถึงสาเหตุ  อาการ  ระยะของโรค  และวิธีการรักษาโรคซางหาน  โดยมีวิธีรักษาที่แตกต่างกัน  6  วิธี  และสร้างทฤษฎีพื้นฐาน  วิธีการรักษา  ตำรับยา  และ  ตัวยา  คัมภีร์ซางหานจ๋าปิ้งลุ่นได้รับการยกย่องจากนักการแพทย์ในหลายยุคหลายสมัย  ปัจจุบันยังคงเป็นหนึ่งในวิชาพื้นฐานของผู้ที่เริ่มศึกษาเกี่ยวกับแพทย์แผนจีน



คัมภีร์เสินหนงเปิ๋นเฉ่าจิง

    คัมภีร์เสินหนงเปิ๋นเฉ่าจิงมีอีกชื่อหนึ่งเรียกว่า  เปิ๋นเฉ่าจิง  ตำนานของจีนสมัยโบราณกล่าวว่าเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นจากเสินหนง  และได้รับการถ่ายทอดปากต่อปากมาในแต่ละยุคสมัย  จนถูกเขียนขึ้นเป็นตำราในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก  คัมภีร์เสินหนงเปิ๋นเฉ่าจิงแบ่งเป็น  3  ม้วน  บันทึกตัวยา  365  ชนิด  บอกถึงคุุุณสมบัติและประสิทธิภาพของยาที่แตกต่างกัน  โดยแบ่งเป็น ชนิดบ่น ชนิดกลาง และชนิดล่าง  ถือเป็นการแบ่งชนิดยาสมุนไพรจีนเป็นครั้งแรก  และถูกใช้กันมาในแต่ละยุคสมัย  มีการพิสูจน์และศึกษาค้นคว้าในปัจจุบันแล้วว่า  ยาหลายชนิดในคัมภีร์สามารถนำมาใช้รักษาได้จริง  และมีประสิทธิภาพถูกต้องตามที่ได้บันทึกเอาไว้  ยาหลายชนิดยังคงถููกใช้อย่างกว้างขวางในปัจจุุบัน  เช่น  โสมใช้บำรุงร่างกาย  เป็นต้น  คัมภีร์เสินหนงเปิ๋นเฉ่าจิงถือเป็นคัมภีร์ยาเล่มแรกของจีน  เป็นทฤษฎียาจีนที่มีชื่อเสียงและมีคุณูปการอย่างกว้างขวาง




คัมภีร์เชียนจินเย่าฟาง

    คัมภีร์เชียนจินเย่าฟางเป็นคัมภีร์ด้านการแพทย์ที่เขียนขึ้นโดยซุนซือเหมี่ยว  นายแพทย์สมัยราชวงศ์ถัง  เป็นหนึ่งในคัมภีร์การแพทย์โบราณของจีน  ได้รับการยกย่องเป็นสารานุกรมสำหรับรักษาโรคเล่มแรกเนื้อหารวบรวมผลงานด้านการแพทย์ตั้งแต่ในยุคก่อนราชวงศ์ถัง  จึงมีคุณูปการอย่างยิ่งต่อคนรุ่นหลัง  คัมภีร์เชียนจินเย่าฟางแบ่งเป็น  2 ตอน  คือ  ต้าอีจิงเฉิงและต้าอีสีเย่  เป็นพื้นฐานของวิชาจริยธรรมและการแพทย์  รวมทั้งมีเนื้อหาเกี่ยวกับเด็กและสตรีโดยเฉพาะ  จึงกลายเป็นรากฐานของนรีเวชศาสตร์และกุมารเวชศาสตร์ในปัจจุบัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น