วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

<iframe width="560" height="315" src="https://www.youtube.com/embed/b5dKunh_1zw" frameborder="0" allow="autoplay; encrypted-media" allowfullscreen></iframe>

เนื้อเรื่องย่อ  ตอนขุนช้างถวายฎีกา


          พลายงามคิดถึงนางวันทอง  และโกรธแค้นขุนช้าง  จึงต้องการไปรับนางวันทองกลับมาอยู่กับขุนแผน  คืนนั้นพลายงามจึงเดินทางไปที่เรือนขุนช้าง  สะเดาะกลอนประตู  แล้วใช้เวทมนตร์ขึ้นเรือนขุนช้าง  พลายงามปลุกนางวันทองตื่นและชวนกลับไปอยู่ด้วยกัน  แต่วันทองไม่ไป  ทั้งยังเตือนสติพลายงามให้กลับไปคิดกับขุนแผนกราบทููลสมเด็จพระพันวษาให้ช่วยเหลือให้นางวันทองได้กลับไปอยู่กับขุนแผน  แต่พลายงามไม่ฟัง  และบังคับให้นางวันทองไปกับตน  นางจำใจไปเพราะรักลูก  ฝ่ายขุนช้างนอนหลับ  และฝันว่า  มีขี้เรื้อนขึ้นทั้งตัว  เมื่อตกใจตื่นขี้นก็ไม่พบนางวันทองจึงให้บ่าวไพร่ติดตามหาแต่ไม่พบจึงรู้สึกโกรธแค้นนางวันทองมาก  ฝ่ายพลายงามเกรงว่า  ขุนช้างจะกราบทูลสมเด็จพระพันวษาจึงให้หมื่นวิเศษผลไปแจ้งให้ขุนช้างทราบว่าตนป่วย  จึงไปรับแม่กลับมา  เมื่อหายป่วยแล้วจึงจะส่งนางวันทองกลับคืนไป  หมื่นวิเศษผลจึงรีบมาบ้านขุนช้าง  แล้วแจ้งให้ขุนช้างทราบ  ขุนช้างโกรธมาก  แต่ต้องแกล้งพูดดีด้วยและตัดสินใจเขียนฎีกาถวายสมเด็จพระพันวษา
          สมเด็จพระพันวษาเสด็จชมบัว  ขณะประทับเรือพระที่นั่ง  ขุนช้างก็ลอยคอ  ชูหนังสือขอถวายฎีกา  สมเด็จพระพันวษากริ้วมากแต่รับฟ้อง  แล้วให้มหาดเล็กเฆี่ยนขุนช้าง  ๓๐ ครั้ง  แล้วให้ปล่อยไป
          ฝ่ายขุนแผนคิดถึงนางวันทอง  และสำนึกผิดที่ทำให้นางเสียใจ  จึงไปหานางวันทองที่เรือนของพลายงาม  และกล่าวขอโทษ  คืนนั้นนางวันทองนอนหลับแล้วฝันร้าย  จึงบอกให้ขุนแผนทำนายฝันขุนแผนรู้ว่าเป็นลางร้าย  แต่ทำนายให้เป็นดี  ฝ่ายขุนช้างเข้าเฝ้าสมเด็จพระพันวษาแต่เช้า  เมื่อทรงทราบเรื่องจึงให้หมื่นศรีไปนำตัวขุนแผน  นางวันทอง  และพลายงามมา  ขุนแผนเสกเวทมนตร์ให้นางวันทอง  ทำให้พระพันวษารู้สึกรักทั้งสามคนเหมือนลูก  ตรัสถามนางถึงเรื่องราวต่างๆ  แล้วให้เลือกว่า  จะอยู่กับใครระหว่างขุนช้าง  ขุนแผน  หรือพลายงาม  นางวันทองเลือกไม่ได้  จึงกราบทูล  เป็นกลางเพื่อให้สมเด็จพระพันวษาทรงตัดสินพระทัย  พระองค์กริ้วมาก  จึงมีรับสั่งให้ประหารชีวิตนางวันทอง

วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ทำไมคนเป็นหวัดถึงมักเป็นไข้


    คนเราเป็นหวัดเนื่องจากได้รับเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียเข้าสู่ร่างกาย  ร่างกายจะเกิดปฏิกิริยาตอบสนองอย่างรวดเร็ว  ด้วยการรักษาและเพิ่มปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์  ส่งผลให้อุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นหรือก็คือเป็นไข้เพื่อทำลายเชื้อโรคที่อยู่ในร่างกาย  หลังจากที่เป็นไข้หวัดแล้ว  ควรจะหาวิธีลดอุณหภูมิของร่างกาย  โดยการพักผ่อนให้มาก  ดื่มน้ำเยอะๆกินอาหารที่มีรสจืดและอาจกินยารักษาตามอาการ  หากอุณหภูมิสูงมากผิดปกติต้องรีบไปพบแพทย์โดยด่วน



ฟันผุเกิดจากอะไร

    ฟันผุเกิดจากเคลือบฟันถูกกรดกัดกร่อนเด็กๆ  อยู่ในช่วงที่ร่างกายกำลังเจริญเติบโต  ถ้ามีฟันผุก็จะส่งผลต่อการเจริญเติบโต  หากรูปฟันผิดปกติจะทำให้การออกเสียงผิดปกติและดูไม่สวยงาม  โรคฟันผุยังส่งผลต่อการกัดเคี้ยวอาหารของเด็กๆ  เป็นปัญหาต่อการกินอาหารและการได้รับสารอาหาร  จึงส่งผลต่อการเจริญเติมโตของร่างกาย  วิธีการป้องกันฟันผุคิือต้องแปลงฟันทุกเช้าและเย็น  หลังกินอาหารครบบ้วนปาก  กินอาหารที่มีรสเปรี้ยวและมีปริมาณน้ำตาลสูงให้น้อยรวมทั้งตรวจฟันเป็นประจำ

วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

จุดฝังเข็มและเส้นลมปราณพิเศษ  8  เส้น


เส้นลมปราณพิเศษ  8  เส้น

    พวกเรามัำจะได้ยินจอมยุทธ์ในนิยายกำลังภายในของจีนดังกล่าวว่า  "หากจะฝึกให้สำเร็จจะต้องพิชิตเส้นลมปราณพิเศษ  8  เส้น"  แล้วเส้นลมปราณพิเศษ  8  เส้นคืออะไร
    
    เส้นลมปราณพิเศษ  8  เส้นคือเส้นลมปราณที่อยู่ในร่างกายมนุษย์  ทั้ง  8  เส้นแตกต่างจากเส้นลมปราณอื่นๆ  คือไม่ถือเป็นอวัยวะภายในร่างกาย  และไม่มีความสัมพันธ์กันของร่างกายและจิตใจ  ด้านเทคนิคการแพทย์เรียกว่า  "เส้นลมปราณพิเศษ"  เส้นลมปราณพิเศษ  8  เส้น  ประกอบด้วย  เส้นตู  เส้นเริ่น  เส้นชง  เส้นไต  เส้นหยางเหวย  เส้นอินเหวย  เส้นหยางเชียว  และเส้นยินเชียว


    ตำแหน่งของเส้นลมปราณพิเศษ  8  เส้นอยู่ไม่ห่างจากกัน  และมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกัน  ทุกเส้นล้วนควบคุมเลือดและลมปราณในตำแหน่งใกล้ๆ  กัน  ส่งผลให้เลืดและลมปราณผ่านได้โดยไม่ติดขัด  ร่างกายจึงเคลื่อนที่ได้อย่างปกติ  นอกจากนี้เส้นลมปราณพิเศษยังปรับระบบต่างๆ  ให้กับทางเดินเลือดลมของร่างกาย  เมื่อทางเดินเลือดลมอื่นๆ  และอวัยวะหรือเลือดลมภายในร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง  เส้นลมปราณพิเศษก็จะกักเก็บมากขึ้น  เมื่อประสิทธิภาพการเคลื่อนไหวของร่างกายต้องกายตัวช่วย  เส้นลมปราพิเศษก็จะส่งตัวที่กักเก็บนั้นไปให้

วันศุกร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

คัมภีร์การแพทย์ของตะวันออกและตะวันตก

คัมภีร์หวงตี้เน่ยจิง

      หวงตี้เน่ยจิงเป็นคำภีค์แพทย์ศาสตร์ที่แก่ที่สุดของจีน  เมื่อรวมกับคำภีร์หนานจิง  คัมภีร์ซางหนานจ๋าปิ้งลุ่น  และคำภีร์เสนหนงเปิ๋นเฉ่าจิง  จะเรียกว่า  4  สุดยอยคัมภีร์แพทย์ศาสตร์  คัมภีร์หวงตี้เน่ยจิงประกอบด้วย  2  ส่วน  คือ  ซู่เวิ่นและหลิงชู  เนื้อหาสำคัญพูดถึงอวัยวะภายใน เส้นที่เลือดลมหมุนเวียน  สาเหตุของ  การเกิดโรค  อาการป่วย  วิธีการวินิจฉัย  วิธีการรักษา  รวมถึงการฝังเข็มและอังความร้อน  คัมภีร์เล่มนี้สะท้อนถึงความคิดของคนจีนในสมัยโบราณที่ว่าฟ้าและมนุษย์รวมกันเป็นหนึ่ง  สร้างระบบทฤษฎีการแพทย์แผนจีนที่โดดเด่น  เป็นรากฐานเพื่อพัฒนาทฤษฎีการแพทย์แผนจีนและยาต่อไป


คัมภีร์หนานจิง

    คัมภีร์หนานจิงมีชื่อเดิมว่า  "หวงตี้ปาสืออีหนานจิง"  เนื้อหาเป้นการไขข้อสงสัยบางอย่างจากคัมภีร์หวงตี้เน่ยจิง  มีทั้งหมด  81  คำถาม  คีมร์เล่มนี้วิเคราะห์จุดที่น่าสงสัยและยากของคัมภีร์หวงตี้เน่ยจิง ด้วยการอธิบายถึงข้อสงสัยและปัญหาต่างๆ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงประสิทธิภาพของอวัยวะใน 
 วิธีวินิจฉัยโรคจากชีพจร  การฝังเข็มบริเวณทางเดินของเลือดลม ทั้งยังวิเคราะห์อาการป่วยที่พบบ่อย  เนื้อหากระชับละเอียด  มักจะถูกพูดถึงไปพร้อมๆ  กับคัมภีร์หวงตี้เน่ยจิงในวิชาการแพทย์แผนจีน  และได้รับการยกย่องเป็นหนึ่งในคัมภีร์แพทยศาสตร์ที่สำคัญที่สุดในสมัยโบราณของจีน


คัมภีร์ซางหานจ๋าปิ้งลุ่น

    คัมภีร์ซางหานจ๋าปิ้งลุ่นเขียนขึ้นโดยนักการแพทย์นามว่า  จางจ้งจิ่ง  เมื่อต้นศตวรรษที่  3  ปลายสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก  จางจ้งจื่งเป็นผู้อ่านหนังสือจำนวนมาก  โดยได้รวบรวมข้อสงสัยที่พบเจอตลอดชีวิตมาเขียนเป็นคัมภีร์ดังกล่าว  คัมภีร์ซางจ๋าปิ้งลุ่นวิเคราะห์ถึงสาเหตุ  อาการ  ระยะของโรค  และวิธีการรักษาโรคซางหาน  โดยมีวิธีรักษาที่แตกต่างกัน  6  วิธี  และสร้างทฤษฎีพื้นฐาน  วิธีการรักษา  ตำรับยา  และ  ตัวยา  คัมภีร์ซางหานจ๋าปิ้งลุ่นได้รับการยกย่องจากนักการแพทย์ในหลายยุคหลายสมัย  ปัจจุบันยังคงเป็นหนึ่งในวิชาพื้นฐานของผู้ที่เริ่มศึกษาเกี่ยวกับแพทย์แผนจีน



คัมภีร์เสินหนงเปิ๋นเฉ่าจิง

    คัมภีร์เสินหนงเปิ๋นเฉ่าจิงมีอีกชื่อหนึ่งเรียกว่า  เปิ๋นเฉ่าจิง  ตำนานของจีนสมัยโบราณกล่าวว่าเรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นจากเสินหนง  และได้รับการถ่ายทอดปากต่อปากมาในแต่ละยุคสมัย  จนถูกเขียนขึ้นเป็นตำราในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันออก  คัมภีร์เสินหนงเปิ๋นเฉ่าจิงแบ่งเป็น  3  ม้วน  บันทึกตัวยา  365  ชนิด  บอกถึงคุุุณสมบัติและประสิทธิภาพของยาที่แตกต่างกัน  โดยแบ่งเป็น ชนิดบ่น ชนิดกลาง และชนิดล่าง  ถือเป็นการแบ่งชนิดยาสมุนไพรจีนเป็นครั้งแรก  และถูกใช้กันมาในแต่ละยุคสมัย  มีการพิสูจน์และศึกษาค้นคว้าในปัจจุบันแล้วว่า  ยาหลายชนิดในคัมภีร์สามารถนำมาใช้รักษาได้จริง  และมีประสิทธิภาพถูกต้องตามที่ได้บันทึกเอาไว้  ยาหลายชนิดยังคงถููกใช้อย่างกว้างขวางในปัจจุุบัน  เช่น  โสมใช้บำรุงร่างกาย  เป็นต้น  คัมภีร์เสินหนงเปิ๋นเฉ่าจิงถือเป็นคัมภีร์ยาเล่มแรกของจีน  เป็นทฤษฎียาจีนที่มีชื่อเสียงและมีคุณูปการอย่างกว้างขวาง




คัมภีร์เชียนจินเย่าฟาง

    คัมภีร์เชียนจินเย่าฟางเป็นคัมภีร์ด้านการแพทย์ที่เขียนขึ้นโดยซุนซือเหมี่ยว  นายแพทย์สมัยราชวงศ์ถัง  เป็นหนึ่งในคัมภีร์การแพทย์โบราณของจีน  ได้รับการยกย่องเป็นสารานุกรมสำหรับรักษาโรคเล่มแรกเนื้อหารวบรวมผลงานด้านการแพทย์ตั้งแต่ในยุคก่อนราชวงศ์ถัง  จึงมีคุณูปการอย่างยิ่งต่อคนรุ่นหลัง  คัมภีร์เชียนจินเย่าฟางแบ่งเป็น  2 ตอน  คือ  ต้าอีจิงเฉิงและต้าอีสีเย่  เป็นพื้นฐานของวิชาจริยธรรมและการแพทย์  รวมทั้งมีเนื้อหาเกี่ยวกับเด็กและสตรีโดยเฉพาะ  จึงกลายเป็นรากฐานของนรีเวชศาสตร์และกุมารเวชศาสตร์ในปัจจุบัน
เกร็ดความรู้
        
     
      ทางช้างเผือกคือดาราจักรในระบบสุริยะมีดาวฤกษ์อย่างน้อย  1  แสนล้านดวง  และ  มีกลุ่มดาวฤกษ์ เนบิวลา  รวมทั้งก๊าซและฝุ่นละอองในอวกาศด้วย  ทางช้างเผือกเป็นดาราจักรชนิดก้นหอย  มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ  1  แสนปีแสง  (ปีแสงคือหน่วยวัดระยะทางในทางดาราศาสตร์  1 ปีแสงเท่ากลับระยะทางประมาณ  9,460,500 ล้านกิโลเมตร)  จุดศูนย์กลางลึกประมาณ  12,000  ปีแสง  มีน้ำหนักรวมมากกว่าน้ำหนังของดวงพระอาทิตย์เกือบ  210,000  ล้านเท่า